Metropolis Paradigm EP.01 เรื่องพื้นฐานของเมโทรโปลิส กับอะไรที่กรุงเทพฯ กำลังเป็น
สมัยก่อนที่มีแต่ถนน ยังไม่มีระบบขนส่งมวลชน ใครจะซื้อรถไว้ใช้ไปไหนมาไหนคงไม่แปลก เพราะถือว่าในบริเวณ Local ระดับจังหวัดที่อยู่แต่ละที่ก็ขนาดไม่เท่ากัน. แต่กับกทม.เดี๋ยวนี้ก็คงเหมือนเมืองหลวงอื่นของโลก ที่ผู้บริหารต้องพยายามอย่างยากยิ่งในการกระตุ้นให้คนหยุดใช้พาหนะส่วนตัวเพื่อเห็นแก่พื้นที่แคบ ๆ ที่เค้าพัฒนาระบบขนส่งฯ ขนาดใหญ่ไว้ให้ด้วยงบประมาณสูงลิ่ว
กรุงเทพมหานครนั้น เป็นเขตปกครองพิเศษ ซึ่งปัจจุบันผู้บริหารทำงานได้ลำบากด้วยเหตุความขัดแย้งทางการเมือง. ส่วนในเรื่องของงบประมาณที่นำมาใช้บริหารจัดการนั้น มีทั้งการจัดสรรจากรัฐบาล การจัดเก็บภาษีภายในท้องถิ่น คือ
เพราะถนนไม่ว่าที่ไหน ๆ ในโลกนั้น ย่อมรับจำนวนพาหนะได้จำกัด กับจังหวัดที่ไม่ใช่เมืองหลวงหรือเขตเศรษฐกิจพิเศษนั้น ไม่มีรถวิ่งเข้าออกมากอย่างนี้ครับ ย่อมมีแต่รถของคนในพื้นที่ ..แต่กทม.ก็เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า -ไม่ได้มีแต่คนในพื้นที่- หรือ "คนท้องถิ่น" เท่านั้นเหมือนอย่างสมัยก่อน ..การที่จะมีรถในกทม.หลายล้านคันกว่านี้นั้น เป็นไปไม่ได้อย่างยิ่งครับ
ภาพจาก networkcamerathai.com |
กรุงเทพมหานครนั้น เป็นเขตปกครองพิเศษ ซึ่งปัจจุบันผู้บริหารทำงานได้ลำบากด้วยเหตุความขัดแย้งทางการเมือง. ส่วนในเรื่องของงบประมาณที่นำมาใช้บริหารจัดการนั้น มีทั้งการจัดสรรจากรัฐบาล การจัดเก็บภาษีภายในท้องถิ่น คือ
- ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
- ภาษีบำรุงท้องที่
- ภาษีป้าย
และรายได้จากสัมปทานระบบขนส่งมวลชนสาธารณะรูปแบบต่าง ๆ และกิจกรรมระดมทุนอื่น ๆ
ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะในกรุงเทพฯ นั้น มีความหลากหลายมากอย่างไม่น่าเชื่อเมื่อเทียบกับความเล็กของพื้นที่ ชนิดที่เรียกได้ว่าถ้าประชากรไม่ใช่พาหนะส่วนตัวแล้ว ช่องทางสัญจรต่าง ๆ จะเป็นของระบบขนส่งฯ อย่างเต็มพื้นที่ทีเดียว (และควรต้องจัดการกำหนดขอบเขตพื้นที่การบริการสัมปทานตามมา) เพราะรายได้ของใครก็ไม่สำคัญเท่ารายได้ของหน่วยงานบริหารพื้นที่ การพัฒนาจะเป็นไปได้เร็วกว่านี้มาก ทั้งคุณภาพและเทคโนโลยี รวมถึงการดูแลด้านต่าง ๆ ของเมือง
[การมองที่รายได้จากการประกอบกิจการของธุรกิจเอกชนรวมกันมุมเดียวนั้น ไม่ได้สำคัญเท่ากับรายได้ที่เป็นของหน่วยงานบริหารท้องถิ่น เพราะรายได้ของภาคธุรกิจย่อมเป็นของเจ้าของธุรกิจและเข้าส่วนกลางเพียงแค่ภาษีต่าง ๆ ..แต่หากหน่วยงานบริหารท้องถิ่นมีรายได้ของตัวเองที่ชัดเจนกว่าภาษีที่อาจเก็บได้มาไม่มาก เมื่อนำมารวมกันก็จะเป็นต้นทุนในการจัดหาและพัฒนาบริการสาธารณะ และสาธารณูปโภคต่าง ๆ ได้ดีอย่างที่ควรจะเป็น]ผู้เขียนลองนึกดูคร่าว ๆ ถึงรูปแบบการคมนาคมสาธารณะ เฉพาะที่ใช้ขนส่งคน (มวลชน) ในกทม. ได้ออกมาประมาณนี้ครับ (ไม่นับที่รับจ้างขนส่งสิ่งของหรือพัสดุภัณฑ์นะครับ)
- รถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) ร้อน, เย็น, ของขสมก., รถร่วมบริการ ..ที่มีนับร้อยสาย
- รถไฟฟ้า BTS, รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT, รถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย
- แท็กซี่โดยสาร, รถสามล้อเครื่องโดยสาร (ตุ๊ก ๆ)
- มอเตอร์ไซค์รับจ้าง
- รถสองแถว
- เรือข้ามฟาก, เรือโดยสารประจำทาง
- จักรยานเช่า
น่าทึ่งมั้ยครับ ทั้งที่กทม.นั้นเล็กมาก แต่ถนนทุกสายและซอยทุกซอย ผู้คนสามารถเดินทางได้โดยทั่วถึงอย่างเกือบเต็มสมบูรณ์ทุกพื้นที่ ..ลองนึกภาพว่าถ้าไม่มีรถยนต์ส่วนตัวเลยแม้แต่คันเดียว คุณภาพและศักยภาพในการจัดหาเทคโนโลยีที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ มาให้บริการประชาชนนั้น จะไปได้เร็วขนาดไหน ..รวมไปถึงการดูแลสาธารณูปโภคต่าง ๆ ก็เช่นกันครับ
ถ้าอยากให้สิ่งใดพัฒนา เราก็ต้องช่วยกันใช้ครับ ไม่อย่างนั้นผู้ให้บริการก็จะไม่มีทุนพอพัฒนาอะไรใหม่ ๆ ..เพราะรายได้ปัจจุบันนี้ เพียงพอต่อการเป็นทุนหมุนเวียนเท่านั้นเองครับ ยังขาดรายได้ในส่วนที่เรียกว่ากำไร จึงพบว่ามีแต่ของเก่าให้ใช้กันโดยส่วนใหญ่นั่นเองการที่ใครจะคิดว่า "ก็เอารถสาธารณะออกไป ถนนจะได้โล่ง ๆ ให้คนได้ใช้รถส่วนตัวอย่างสะดวกสบายน่าจะดีกว่ามั้ย?.." ..ในแง่ความเป็นเมืองหลวงที่ประชากรจังหวัดอื่น จำเป็นต้องเดินทางเข้ามาติดต่อส่วนงานราชการในส่วนกลางแทบตลอดเวลานั้น นี่เป็นสิ่งที่ไม่มีทางเป็นจริงไปได้อย่างยิ่งครับ.
เพราะถนนไม่ว่าที่ไหน ๆ ในโลกนั้น ย่อมรับจำนวนพาหนะได้จำกัด กับจังหวัดที่ไม่ใช่เมืองหลวงหรือเขตเศรษฐกิจพิเศษนั้น ไม่มีรถวิ่งเข้าออกมากอย่างนี้ครับ ย่อมมีแต่รถของคนในพื้นที่ ..แต่กทม.ก็เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า -ไม่ได้มีแต่คนในพื้นที่- หรือ "คนท้องถิ่น" เท่านั้นเหมือนอย่างสมัยก่อน ..การที่จะมีรถในกทม.หลายล้านคันกว่านี้นั้น เป็นไปไม่ได้อย่างยิ่งครับ
ใจความพื้นฐานของการที่เมืองใดจะเป็น Metropolis หรือ Capital City นั้น.. คือเป็นเมืองที่ต้องมีโครงสร้างของระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่..ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ให้ได้ก่อน เพราะคำว่า "เมือง" เป็นเรื่องของสังคมครับ ไม่ใช่เรื่องส่วนตัวของใครคนเดียว. ลองนึกถึง Metropolis ของประเทศชั้นนำของโลกดูสิครับ แล้วจะพอเข้าใจ.. แล้วภาพของการทำตลาดรถยนต์ในภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง (หรือประเทศใดประเทศหนึ่ง) ของโลกอย่างจงใจนั้น ก็จะชัดในเหตุผลมากขึ้นครับ :)
.......
ตอนหน้าจะเป็นการพูดถึง "ผังเมือง" ที่ไม่เป็นระเบียบ นำไปสู่การจัดสรรพื้นที่อย่างไร้รายได้ (ไม่เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ) ในหลายรูปแบบนะครับ :)
ReplyDeleteบทความนี้อาจจะใส่แท็กเศรษฐกิจสร้างสรรค์อีกทีครับ ขอดูความเหมาะสมก่อน :)
Delete