เทคนิคการทำงานของ "IDEA".
(เป็นการให้ความเห็นเอาไว้ที่เว็บพันทิปครับ หลายวันมาแล้ว คิดว่าควรจะรวบรวมเอาไว้เพราะเป็นรายละเอียดเรื่องสำคัญมากเรื่องหนึ่ง)
(ในที่ตั้งเดิม จะเป็นการยกตัวอย่างเรื่องการแต่งเพลงครับ)
กรณีตั้งโจทย์นั้น ตัวโจทย์อาจจะไม่ปรากฏในฐานะคำในเนื้อหาคำร้องทั้งหมดเลยก็ได้
หรือตัวโจทย์อาจถูกใช้ในฐานะบรรยากาศนามธรรมของเพลง หรือเป็นรูปธรรมโดยเป็นชื่อเพลงก็ได้
ซึ่งโจทย์ในแต่ละรูปแบบของเหตุจะให้ผลที่ต่างกันออกไป เช่น แบบโจทย์เป็นบรรยากาศ หรือเป็นชื่อเพลง
เพลงก็สามารถแต่งเป็นซีรี่ย์หมายเลขต่าง ๆ เช่นเดียวกับเพลงคลาสสิค เป็นต้น.
ไอเดียจึงกล่าวได้โดยทั่วไปว่ามี 3 ลักษณะ
http://pantip.com/topic/30583834/comment7
(ในที่ตั้งเดิม จะเป็นการยกตัวอย่างเรื่องการแต่งเพลงครับ)
กรณีตั้งโจทย์นั้น ตัวโจทย์อาจจะไม่ปรากฏในฐานะคำในเนื้อหาคำร้องทั้งหมดเลยก็ได้
หรือตัวโจทย์อาจถูกใช้ในฐานะบรรยากาศนามธรรมของเพลง หรือเป็นรูปธรรมโดยเป็นชื่อเพลงก็ได้
ซึ่งโจทย์ในแต่ละรูปแบบของเหตุจะให้ผลที่ต่างกันออกไป เช่น แบบโจทย์เป็นบรรยากาศ หรือเป็นชื่อเพลง
เพลงก็สามารถแต่งเป็นซีรี่ย์หมายเลขต่าง ๆ เช่นเดียวกับเพลงคลาสสิค เป็นต้น.
ไอเดียจึงกล่าวได้โดยทั่วไปว่ามี 3 ลักษณะ
- เราคิดเพื่อสร้างโจทย์ก่อน
- เราได้โจทย์มาจึงคิด (ตีความและสร้างเรื่อง โดยอาศัยโจทย์เหมือนรากต้นไม้)
- เราคิดอะไรบางอย่างเพื่อเริ่มต้นเฉย ๆ ..แต่สิ่งที่ตามมาทั้งหมดกลับโตขึ้นจากบางอย่างในตอนเริ่มนั้น ถูกจับยึดเหมือนโจทย์ แต่ไม่ใช่โจทย์. เนื้อหามันดำเนินไปของมันเอง เหมือนการเล่นปิงปองกับแนวคิดที่ถูกสร้างขึ้นตอนแรก. (พิเคราะห์ให้ดีจะพบว่า.. ถ้าทำแบบ 3. ..กลไกระบบความคิดเราจะประพฤติแบบ 1. กับ 2. โต้ตอบสลับกันวรรคต่อวรรค. กล่าวคือบางอย่างที่คิดขึ้นนั้นเป็นวรรคแรกไร้ที่มาที่ไปคือ 3. ..แต่ทำหน้าที่เหมือน 1. ..ซึ่งกลไกการสร้างวรรคต่อไปจะเป็น 2. ..เมื่อ 2. เสร็จสมบูรณ์จะทำหน้าที่เป็น 1. เพื่อสร้างวรรคต่อไป วนกันไปแบบนี้จนกว่าจะพอ)
http://pantip.com/topic/30583834/comment7
Comments
Post a Comment
การแสดงความคิดเห็น ขอให้เคารพในสิทธิของบุคคลอื่น
และไม่ละเมิดพรบ.ICT ..เชิญครับ :)