การตรวจสอบหรือพิสูจน์ทราบว่าได้ดำเนินรูปแบบการจัดการศึกษามาถูกต้องเหมาะสมแล้ว

การเลียบเคียงดู "ทัศนคติ" (Attitude)

ไม่ว่าจะเป็นการจัดการศึกษาในรูปแบบใด ๆ ก็สามารถใช้แนวทางดังต่อไปนี้ได้นะครับ


  • ฝั่งตัวผู้เรียน - มองโลกอย่างมีเหตุไปหาผลอย่างเหมาะสม (เห็นปัจจัยต่าง ๆ ระหว่างเหตุไปถึงผล) เหมาะสมในที่นี้คือ "ไม่สุดโต่ง" คือมีการพิจารณาข้อจำกัดของสถานการณ์ ตามความแตกต่างของข้อมูลแวดล้อม จากศูนย์กลางของเรื่องนั้น ๆ ออกมาถึงโดยรอบและความเชื่อมโยงสัมพันธ์ (relate) กับความจริงของโลก, ไม่สุดโต่งคือความเป็นกลางนั่นเอง ไม่ตามใจตัวอยากให้เป็นแบบมีอารมณ์ร่วมมากไป หรือยกเอาทัศนะลักษณะที่เข้าข้างตัวเองที่เรียกว่า "ทิฏฐิ" มาเป็นน้ำหนักถ่วงโลกเข้าหาตัว
  • ฝั่งผู้สังเกต (ในที่นี้อาจหมายความถึงผู้ปกครอง/ครู อาจารย์ ที่ำทำหน้าที่จัดการศึกษาให้ผู้เรียน และในกรณีเป็นการศึกษาตามอัธยาศัยก็สามารถหมายถึงตัวผู้เรียนเองในฐานะเป็นผู้จัดฯ ให้ตัวเอง ซึ่งอย่างไรแล้วไม่ว่าจะเป็นการจัดการศึกษาในรูปแบบที่มีจำนวนบุคคลสัมพันธ์กันลักษณะใด การประเมินในระดับส่วนตัวหรือตามอัธยาศัยจะมีอยู่เสมอครับ ตามธรรมชาติ เพราะฉะนั้นต้องปล่อยให้ตัวผู้เรียนเองได้ทำการประเมินระดับดังกล่าวนี้ด้วย) - เลียบเคียงตรวจสอบทัศนคติของตนเอง ว่าการจัดการศึกษาให้ผู้อื่น (บุตรหลานหรือนักเรียน ตัวผู้เรียนถ้าไม่ใช่ตนเอง) นี้ เราออกแบบและดำเนินให้ไปโดยมีตัวเขาเป็นศูนย์กลาง ไม่ใช่ตัวเรา (อาจลองคิดถึงคำว่า child center, และการต้องระมัดระวังที่จะไม่ให้กลายเป็นบริบท adult center หรือ teacher center จนชัดเจน) เพราะต้องเป็นการส่งเสริมและพัฒนาความรู้และทักษะของผู้เรียน ที่ใช้คำว่า "ส่งเสริม" หรือสนับสนุนนั้น หมายความว่า ผู้เรียนควรเป็น "บุคคลที่ 1" เป็นสำคัญ ซึ่งเราจะแนะนำให้เขามีทักษะที่จะเลียบเคียงดูทัศนคติตนเองดังข้างต้นเสมอ ถ้าเราไม่ยินยอมให้ผู้เรียนเป็นบุคคลที่ 1 เลย นั่นหมายถึงเราไม่เคยจัดการศึกษาให้เขา และเขาไม่ใช่ศูนย์กลางหรือ center ของการจัดการศึกษานี้

การคอยระลึกเชิงตรวจสอบทัศนคติของทั้งสองโลกไว้เสมอ ๆ นี้ (ในแง่นึงเราสามารถเรียกบริบทแบบนี้ว่า "การใช้สติ") สามารถเลียบเคียงลงไปในทุกเรื่องราวหรือทุกกิจกรรม และกระทั่ง "คำทุกคำ" ที่มนุษย์เราแต่ละคน คิด แมปปิ้ง (mapping) สะสม ชั่งตวงวัด เก็บเอาไว้ภายใน ใช้เพื่อกรองเอาสิ่งไม่เหมาะสมออกจากทัศนคติส่วนตนในภาพรวม และเก็บสิ่งที่เหมาะสมกว่า หรือเหมาะสมจริง ๆ เอาไว้ ในทิศทางของ "เจตนารมณ์ที่จะพัฒนาตนให้เป็นบุคคลที่มีคุณค่า และคุณภาพ" ทั้งต่อตนเอง และสังคมแวดล้อม กระทั่งโลก

คือสิ่งที่ทำให้คนเราพบความมีคุณค่าในตัวเอง ขอบคุณตัวเองลง รักตัวเองอย่างเหมาะสม ยิ่งคอยพัฒนาตนให้เป็นที่พึ่งแก่ตนเองได้ รวมทั้งแก่ผู้อื่นในบทบาทเทียบเคียงได้กับ "ผู้สังเกต" ซึ่งจะเป็นความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันที่มีคุณค่า มีการกระทำที่มีความหมาย และสร้างสังคมที่มีความสมบูรณ์พอที่จะไม่เสื่อมสลายลงไปโดยง่าย

ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถสรุปไว้ในนิยามคำว่า "เมตตาธรรม" นั่นเอง

Comments

  1. ขอบคุณมากๆครับคุณ Vnatat สำหรับบทความดีๆ :)

    ReplyDelete

Post a Comment

การแสดงความคิดเห็น ขอให้เคารพในสิทธิของบุคคลอื่น
และไม่ละเมิดพรบ.ICT ..เชิญครับ :)

Popular posts from this blog

กำลังปรับปรุงกราฟิกของเว็บนะครับ

การตรวจสอบอีเมลปลอมที่เป็น PayPal หรืออื่น ๆ